รอบตัดสิน ของ ชิงร้อยชิงล้าน ชะช่ะช่า

ในเกมนี้เป็นการตัดสินให้ผู้เข้าแข่งขันเข้าสู่รอบ Jackpot

เปิดป้ายคะแนน(ชิงบ๊วย)

มีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนหลักในรอบนั้นที่มีเลข 1-12 12 แผ่นป้าย (ผู้สนับสนุนหลักคือเป๊ปซี่ (พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2545 และปลายปี พ.ศ. 2547) เครื่องดื่มเกเตอเรด (พ.ศ. 2546 - กลางปี พ.ศ. 2547) โบตันมินต์บอล (พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2550) แอทแทค อีซี่ (พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2551) และป๊อป ซีเคร็ท (พ.ศ. 2551) ต่อมาตั้งแต่ 14 เมษายน พ.ศ. 2552 ได้เปลี่ยนเป็นแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการ 12 แผ่นป้าย ซึ่งมีคะแนน 1-9 ส่วนอีก 3 ป้าย คือรูปใบหน้าของคุณปัญญา,คุณมยุรา และคุณหม่ำ โดยแผ่นป้ายปัญญาหรือป้ายมยุรามีค่า 10 คะแนน (แต่ในกรณีที่เปิดแผ่นป้ายเดียว ป้ายมยุราจะสามารถชนะป้ายปัญญา) และป้ายหม่ำเป็นป้ายตกรอบ (ป้ายหม่ำนั้น ในกรณีที่ทีมผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกเปิดได้ 2 แผ่นป้าย ถึงจะสามารถเปิดเจอป้ายใดๆก็ตาม แต่ถ้าอีกแผ่นป้ายหนึ่งเปิดเจอหม่ำ จะถือว่าตกรอบทันทีเช่นเดียวกัน) ในเกมเปิดแผ่นป้ายคะแนนนี้ จะมีการดูคะแนนจากรอบเกมจริงหรือไม่, ทายดาราปริศนา (ยุคที่ 1) ทำได้หรือไม่ได้, ทายสามช่ารับเชิญ, ใครกันหนอ (ยุคที่ 2 และ 3) ด้วย โดยในช่วงปี พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2542 ทีมที่มีคะแนนสะสมจากเกมมากที่สุด จะได้เลือก 2 แผ่นป้าย ส่วนอีกทีมหนึ่งจะได้เลือกเปิด 1 แผ่นป้าย (แต่ถ้ามีคะแนนเสมอกัน ทั้งสองฝ่ายจะได้เลือกเปิดคนละ 1 แผ่นป้ายเท่านั้น) ทั้งนี้ ในการเล่นเกม ทีมที่เปิดป้ายได้คะแนนรวมมากที่สุดจะเข้ารอบทันที แต่ถ้ามีคะแนนเท่ากัน ทีมที่เปิดได้ 2 ป้าย จะเข้ารอบทันที อย่างไรก็ดี ในเกมนี้ สำหรับทีมที่ได้เปิด 2 แผ่นป้าย หากสามารถเปิดแผ่นป้ายได้เป็นรูปปัญญาและมยุรา ทีมนั้นจะได้รับเงินรางวัลพิเศษ 100,000 บาท

จนกระทั่งในปีพ.ศ. 2542 ที่มีผู้เข้าแข่งขัน 3 คน ผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนสูงสุดจะได้เปิด 2 แผ่นป้าย ส่วนผู้เข้าแข่งขันที่คะแนนน้อยกว่าลงมา ไม่ว่าจะเท่ากันหรือไม่ก็ตาม จะได้เปิดคนละ 1 แผ่นป้าย แต่ถ้าหากผู้เข้าแข่งขันมีคะแนนเท่ากันทั้งสามคนจะได้เปิดคนละ 1 แผ่นป้าย

และในปี พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2552 (จนถึงยุค ชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก) ได้ถูกปรับเปลี่ยนเล็กน้อยโดยมีหลักการดังต่อไปนี้

  • กรณีที่ 1 ถ้าผู้เข้าแข่งขันมีคะแนนต่างกันทั้งสามคน ผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนมากที่สุด 2 อันดับแรก จะได้เล่นเกมนี้ โดยผู้เล่นที่มีคะแนนมากกว่ามีสิทธิ์เลือก 2 แผ่นป้าย ส่วนผู้เล่นที่มีคะแนนน้อยกว่าได้เลือก 1 แผ่นป้าย ส่วนผู้เข้าแข่งขันอีกคนหนึ่ง ถือว่าตกรอบโดยอัตโนมัติ
  • กรณีที่ 2 ถ้าผู้เข้าแข่งขันมีคะแนนเสมอกัน 2 คน โดยสองคนดังกล่าว มีคะแนนสูงกว่าผู้เข้าแข่งขันอีกคนหนึ่ง ทั้งสองคนนั้นจะได้สิทธิ์เล่นเกมนี้ โดยได้เลือกคนละ 1 แผ่นป้าย ส่วนผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนน้อยกว่าสองคนดังกล่าว ถือว่าตกรอบเช่นกัน
  • กรณีที่ 3 ถ้าผู้เข้าแข่งขันคนใดคนหนึ่งมีคะแนนมากที่สุด และผู้เข้าแข่งขันอีกสองคนที่มีคะแนนน้อยกว่ามีคะแนนเท่ากัน ผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนมากที่สุดจะได้เลือก 2 แผ่นป้าย ส่วนผู้เข้าแข่งขันอีกสองคนที่เหลือ จะได้เลือกคนละ 1 แผ่นป้าย
  • กรณีที่ 4 ถ้าผู้เข้าแข่งขันทั้งสามคนมีคะแนนเท่ากัน จะได้สิทธิ์เลือกคนละ 1 แผ่นป้ายทุกคน

สำหรับการเล่นเกมเปิดแผ่นป้ายคะแนนนี้ ผู้เข้าแข่งขันที่เปิดป้ายได้คะแนนรวมมากที่สุดจะเข้ารอบทันที แต่ถ้ามีคะแนนเท่ากัน ผู้ที่เปิดได้ 2 ป้ายจะเข้ารอบทันที อย่างไรก็ดี ในเกมนี้ สำหรับผู้เข้าแข่งขันที่ได้เปิด 2 แผ่นป้าย หากสามารถเปิดแผ่นป้ายได้เป็นรูปปัญญาและมยุรา ผู้เข้าแข่งขันท่านนั้นจะได้รับเงินรางวัลพิเศษ 100,000 บาท (ผู้สนับสนุนเงินรางวัลโดยบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปตรา มาม่า ต่อมาเป็นซอสหอยนางรมตรา แม่ครัว) ทว่าในทางปฏิบัติ การจะได้สิทธิ์ลุ้นเงินรางวัล 100,000 บาทได้นั้น จะต้องเป็นไปตามหลักในข้อที่ 1 และข้อ 3 ซึ่งได้กล่าวมาไว้ข้างต้นเท่านั้น อย่างไรก็ดี ตั้งแต่ 1 เมษายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นมา จะไม่มีการให้เงินรางวัลพิเศษ 100,000 บาทในกรณีที่เปิดได้ป้ายรูปปัญญาและมยุราอีก โดยให้ถือว่าผู้ที่เปิดได้ป้ายรูปปัญญาและมยุรานั้นเข้ารอบสุดท้ายไปโดยอัตโนมัติแทน

ประตูหม่ำนำโชค

เกมนี้ มีประตูอยู่ 4 ช่อง โดยสิทธิ์และจำนวนในการเลือกช่องประตูจะขึ้นอยู่กับคะแนนที่สะสมมาในรอบจับคู่แก๊งสามช่า รอบชิงร้อยฯ โชว์ และรอบขุดขึ้นมาฮา ในทางการปฏิบัติเลือกประตูไว้ 4 กรณีดังนี้

  • กรณีที่ 1 ถ้าผู้เข้าแข่งขันมีคะแนนต่างกันทั้งสามคน ผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนมากที่สุด 2 อันดับแรก จะได้เล่นเกมนี้ โดยมีประตูให้เลือก 3 ประตู ในแต่ละประตูจะมี หม่ำ,เท่ง และโหน่ง ผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนมากที่สุดจะต้องเลือก 2 ใน 3 ประตู ส่วนประตูที่เหลือจะตกเป็นของผู้ที่มีคะแนนรองลงมา
  • กรณีที่ 2 ถ้าผู้เข้าแข่งขันมีคะแนนเสมอกัน 2 คน โดยสองคนดังกล่าว มีคะแนนสูงกว่าผู้เข้าแข่งขันอีกคนหนึ่ง ทั้งสองคนนั้นจะได้สิทธิ์เล่นเกมนี้ โดยมีประตูให้เลือก 2 ประตู ในแต่ละประตูจะมี หม่ำและตุ๊กกี้ ให้ผู้เข้าแข่งขันเลือกประตูคนละ 1 ประตู
  • กรณีที่ 3 ถ้าผู้เข้าแข่งขันคนใดคนหนึ่งมีคะแนนมากที่สุด และผู้เข้าแข่งขันอีกสองคนที่มีคะแนนน้อยกว่ามีคะแนนเท่ากัน จะได้สิทธิ์เล่นเกมนี้ทุกคน โดยมีประตูให้เลือก 4 ประตู ในแต่ละประตูจะมี หม่ำ,เท่ง,โหน่ง และตุ๊กกี้ ผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนมากที่สุดจะต้องเลือก 2 ใน 4 ประตู ส่วนคนที่เหลือจะต้องเลือกคนละ 1 ประตู
  • กรณีที่ 4 ถ้าผู้เข้าแข่งขันทั้งสามคนมีคะแนนเท่ากัน จะได้สิทธิ์เล่นเกมนี้ทุกคน โดยมีประตูให้เลือก 3 ประตู ในแต่ละประตูจะมี หม่ำ,เท่ง และโหน่ง ให้ผู้เข้าแข่งขันเลือกประตูคนละ 1 ประตู

ผู้เข้าแข่งขันที่เปิดประตูเจอหม่ำ จะได้รับช่อดอกไม้แสดงความยินดีจากคุณหม่ำที่สามารถผ่านเข้าไปในรอบสุดท้ายได้ ในขณะที่แก๊งสามช่าคนอื่นๆอาจจะถืออุปกรณ์ประกอบฉากอย่างอื่นออกมาด้วยแทน

เกมนี้ มีพัฒนาการมาจาก "ประตูหม่ำ ประตูหมื่น" และ “ชิงบ๊วย” จาก ชิงร้อยชิงล้าน Top Secret และ ชิงร้อยชิงล้าน ครั้งหนึ่งในชีวิต ในปี พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2538 อย่างไรก็ดี เนื่องจากตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553 หม่ำ จ๊กมก เดินทางไปต่างประเทศ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงเกมใหม่มาเป็นประตูสามช่ามหาสมบัติแทน

ประตูสามช่ามหาสมบัติ

เกมนี้ มีประตูอยู่ 4 ช่อง โดยสิทธิ์และจำนวนในการเลือกช่องประตูจะขึ้นอยู่กับคะแนนที่สะสมมาในรอบจับคู่แก๊งสามช่า รอบชิงร้อยฯโชว์ และรอบขุดขึ้นมาฮา ในทางการปฏิบัติเลือกประตูไว้ 4 กรณีดังนี้

  • กรณีที่ 1 ถ้าผู้เข้าแข่งขันมีคะแนนต่างกันทั้งสามคน ผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนมากที่สุด 2 อันดับแรก จะได้เล่นเกมนี้ โดยมีประตูให้เลือก 3 ประตู ในแต่ละประตูจะมีกล่องมหาสมบัติ 1 ประตู และแก๊งสามช่าอีก 2 ประตู ผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนมากที่สุดจะต้องเลือก 2 ใน 3 ประตู ส่วนประตูที่เหลือจะตกเป็นของผู้ที่มีคะแนนรองลงมา
  • กรณีที่ 2 ถ้าผู้เข้าแข่งขันมีคะแนนเสมอกัน 2 คน โดยสองคนดังกล่าว มีคะแนนสูงกว่าผู้เข้าแข่งขันอีกคนหนึ่ง ทั้งสองคนนั้นจะได้สิทธิ์เล่นเกมนี้ โดยมีประตูให้เลือก 2 ประตู ในแต่ละประตูจะมีกล่องมหาสมบัติและแก๊งสามช่า อย่างละ 1 ประตู ให้ผู้เข้าแข่งขันเลือกประตูคนละ 1 ประตู
  • กรณีที่ 3 ถ้าผู้เข้าแข่งขันคนใดคนหนึ่งมีคะแนนมากที่สุด และผู้เข้าแข่งขันอีกสองคนที่มีคะแนนน้อยกว่ามีคะแนนเท่ากัน จะได้สิทธิ์เล่นเกมนี้ทุกคน โดยมีประตูให้เลือก 4 ประตู ในแต่ละประตูจะมีกล่องมหาสมบัติ 1 ประตู และแก๊งสามช่าอีก 3 ประตู ผู้เข้าแข่งขันที่มีคะแนนมากที่สุดจะต้องเลือก 2 ใน 4 ประตู ส่วนคนที่เหลือจะต้องเลือกคนละ 1 ประตู
  • กรณีที่ 4 ถ้าผู้เข้าแข่งขันทั้งสามคนมีคะแนนเท่ากัน จะได้สิทธิ์เล่นเกมนี้ทุกคน โดยมีประตูให้เลือก 3 ประตู ในแต่ละประตูจะมีกล่องมหาสมบัติ 1 ประตู และแก๊งสามช่าอีก 2 ประตู ให้ผู้เข้าแข่งขันเลือกประตูคนละ 1 ประตู

ผู้เข้าแข่งขันที่เปิดประตูเจอกล่องมหาสมบัติ จะได้ผ่านเข้าไปในรอบสุดท้ายได้ ในขณะที่แก๊งสามช่าคนอื่นๆ อาจจะถืออุปกรณ์ประกอบฉากอย่างอื่นออกมาด้วยแทน

แหล่งที่มา

WikiPedia: ชิงร้อยชิงล้าน ชะช่ะช่า //scholar.google.com/scholar?q=%22%E0%B8%8A%E0%B8%... //www.google.com/search?&q=%22%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E... //www.google.com/search?as_eq=wikipedia&q=%22%E0%B... //www.google.com/search?q=%22%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0... //www.google.com/search?tbs=bks:1&q=%22%E0%B8%8A%E... http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=... http://www.workpoint.co.th https://www.youtube.com/watch?v=NFV2D0HgLnk https://web.archive.org/web/20000816211226/http://... https://www.jstor.org/action/doBasicSearch?Query=%...